แชร์

6 วิธีฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกที่ดื้อ!

อัพเดทล่าสุด: 11 เม.ย. 2024
57 ผู้เข้าชม

6 วิธีฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกที่ดื้อ!

การเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคดื้อถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและการมีระเบียบวินัยที่สม่ำเสมอถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับอาการของเด็ก โดยมีวิธีการ คือ

ให้ความสนใจในแง่บวก

เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ จึงทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ พวกเขาเป็นกลุ่มที่ได้รับคำสั่งและผลกระทบที่ตามมามากกว่าเด็กคนอื่นๆ การให้ความสนใจในแง่บวกต่อลูกของคุณในทุกๆ วันจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาทางพฤติกรรมได้ ควรใช้เวลาประมาณ 15 นาทีต่อวัน ในการพูดคุย เล่น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ควรใช้เวลาที่มีค่าเหล่านี้ร่วมกันในทุกวัน แม้จะเป็นวันที่พวกเขาดื้อมากกว่าปกติก็ตาม ในระยะยาวการให้ความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมได้

ตั้งกฎให้ชัดเจน

เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่างๆ พวกเขามักพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกหนีกฎเกณฑ์เหล่านี้ทุกครั้งที่ทำให้ การตั้งกฎที่ชัดเจนภายในบ้านถือเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง คุณควรติดกฎเหล่านี้ไว้ที่ตู้เย็นหรือบริเวณที่สังเกตได้ชัดเจนภายในบ้าน และเมื่อลูกของคุณเริ่มบอกว่าเขาไม่อยากทำการบ้านตอนนี้ คุณสามารถชี้ไปที่กฎและอธิบายว่า เวลาในการเริ่มทำการบ้านคือ 16.00 น. และควรทำให้กฎเหล่านี้ง่ายและไม่ยาวจนเกินไป แต่ควรมีกฎที่เกี่ยวข้องกับการบ้าน งานบ้าน เวลานอน และความเคารพต่างๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่คุณต้องการจะแก้ไข

วางแผนพฤติกรรม

การวางแผนพฤติกรรมจะทำให้คุณสามารถเน้นไปที่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยควรเลือกพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดเป็นอันดับแรก ความก้าวร้าว การนินทา ไม่ทำการบ้าน หรือก่อกวนในห้องเรียนอาจเป็นพฤติกรรมลำดับต้นๆ ที่คุณต้องการแก้ไข ควรระบุบทลงโทษที่ชัดเจนหากลูกของคุณทำผิดกฎ นอกจากนั้นควรพูดคุยถึงผลดีที่จะได้จากการทำตามกฎ การให้รางวัล โดยเฉพาะในรูปแบบของเงินปลอม เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเด็กที่เป็นโรคนี้

หนักแน่นกับบทลงโทษ

เด็กที่เป็นโรคนี้ต้องการความสม่ำเสมอของบทลงโทษจากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หากคุณมีการอนุโลมจะทำให้พวกเขาไม่จำ เนื่องจากพวกเขาจะคิดว่าถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเพียง 1 ใน 100 ที่คุณจะยอมให้ แต่ก็ถือว่าดีกว่าไม่ได้ลอง ควรลดรางวัลที่เขาจะได้รับเมื่อทำผิด เช่น ไม่อนุญาตให้ไปเล่นกับเพื่อนหากพวกเขาไม่ทำงานของตัวเอง

หลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องอำนาจ

เด็กที่เป็นโรคนี้มักเก่งในการทำให้ผู้ใหญ่เข้าสู่การโต้เถียงอันยาวนาน อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหลีกเลี่ยงปัญหาว่าใครคือผู้มีอำนาจ เนื่องจากปัญหานี้ไม่ช่วยแก้ปัญหา หากคุณบอกให้ลูกทำความสะอาดห้องและพวกเขาเถียงคุณ ไม่ควรเถียงกลับ เพราะยิ่งพวกเขาเถียงกับคุณได้นานเท่าไหร่ พวกเขาก็จะเริ่มทำความสะอาดช้าลงเท่านั้น แต่คุณควรออกคำสั่งให้ชัดเจนและระบุบทลงโทษที่จะเกิดขึ้นหากเขาไม่ทำตามข้อตกลง ไม่ควรพยายามกดดันให้ลูกของคุณทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คุณไม่สามารถบังคับให้เขาทำความสะอาดห้องหรือทำการบ้านได้ การโต้เถียง เหน็บแนม และด่าทอไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่คุณสามารถทำให้เขารู้สึกไม่ดีหากไม่ทำตามข้อตกลงโดยการกำหนดบทลงโทษ หากเขาไม่ทำตามที่คุณบอก คุณสามารถเตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นหากพวกเขาไม่ทำตามข้อตกลง คุณอาจจะพูดว่า ถ้าลูกไม่เลิกเล่นคอมพิวเตอร์ในตอนนี้คุณจะไม่ได้แตะต้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกเลยในอีก 24 ชั่วโมง และหากเขายังไม่ยอมทำตามคุณก็สามารถเริ่มทำตามบทลงโทษที่กำหนดไว้ได้เลย

ขอความช่วยเหลือ

คุณควรพิจารณาขอความช่วยเหลือหากลูกของคุณยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมพ่อแม่มักเป็นส่วนที่สำคัญในการรักษาและผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยเรื่องเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้านได้

กลุ่มให้ความช่วยเหลือมักจะมีประโยชน์ต่อพ่อแม่เช่นกัน เพราะการเลี้ยงลูกที่เป็นโรคดื้อนี้ถือเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก นอกจากนั้นควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ให้มากที่สุด ความเข้าใจโรคถือเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ทักษะที่จะช่วยควบคุมพฤติกรรมได้

ที่มา :  https://www.honestdocs.co


บทความที่เกี่ยวข้อง
 ประโยชน์ของการวิเคราะห์ The benefits of analysis
ประโยชน์สำหรับเด็กอ่อนและเด็กวัยประถม
19 ธ.ค. 2024
ประวัติ Dermatoglyphics Dermatoglyphics History
ประวัติ Dermatoglyphics Dermatoglyphics History.
18 ธ.ค. 2024
สอนลูกให้รู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ต
สอนลูกให้รู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ต พ่อแม่ต้องควบคุมเวลาในการใช้ ต้องสอนให้มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ให้ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย
20 เม.ย. 2024
Brain Scan ช่วยให้คุณและลูกรักค้นพบความสามารถ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy