แชร์

พลังของการเล่น

อัพเดทล่าสุด: 20 เม.ย. 2024
64 ผู้เข้าชม

พลังของการเล่น

การเล่นของเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการของ executive function(EF) และความสำเร็จของชีวิตในอนาคต โดย executive function(EF) คือความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ในการเร่งเรียนหรือใช้เวลาต่อวันในการเรียนหนังสืออย่างจริงจังมากเกินไปในช่วงปฐมวัยคือ 3- 6 ขวบนั้น มีข้อเสียที่สำคัญ คือ เสียเวลาเล่น และเมื่อประเมินแล้วพบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่คุ้มค่า ความเก่งด้านคณิตศาสตร์ที่ชั้นอนุบาลมิได้บ่งชี้ความเก่งที่ชั้นประถมแต่อย่างใด (อ้างอิงถึง Watts TW, Duncan GJ, Clements DH, Sarama J. What is the long-run impact of learning mathematics during preschool? Child Dev. 2018;89(2):539555)

การเล่นคืออะไร
การเล่นคือกิจกรรมที่เกิดจากภายใน (intrinsic) เกิดขึ้นเอง (spontaneous) มีส่วนร่วม (engage) และมีความสนุก (joyful) ซึ่งสองคำแรกมีความหมายว่าเราบังคับให้เด็กเล่นก็ไม่ได้ถ้าเจ้าตัวไม่อยากจะเล่น เพราะการเล่นที่แท้ต้องเกิดขึ้นจากภายในจิตใจของตัวเขาเองและผุดบังเกิดขึ้นได้เอง นอกจากนี้ตัวเด็กมีส่วนร่วมกับการเล่น เป็นส่วนหนึ่งของการเล่น มิใช่ถูกบังคับให้ดูคนอื่นเล่น และสุดท้ายคืออะไรที่สังคมวันนี้หลงลืมไปมากแล้วคือความสนุก

จะว่าไปการละเล่นก็เหมือนขำขัน ไม่มีกติกาที่ชัดเจนว่าเท่าไรจึงเรียกว่าเล่นพอๆกับเนื้อเรื่องแบบใดที่จะขำแน่ๆ แม้จะมีกติกาสากลอยู่บ้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วเด็กคนนั้นเองที่เป็นผู้ตอบว่าเขาสนุกหรือเปล่า เราบังคับให้เด็กจงสนุกนั้นมิได้

แต่ว่าการเล่นก็เป็นพื้นฐานของการเชื่อฟังกฎและการทำกติกาด้วย กล่าวคือ เด็กๆจะเรียนรู้ได้ว่าหากจะได้มีส่วนร่วมในความสนุกที่กำลังจะบังเกิดขึ้น จำเป็นที่ตัวเขาเองต้องยินยอมพร้อมใจทำตามกฎและเชื่อฟังกติกาของการเล่นนั้น การเล่นจึงเป็นเครื่องมือฝึกทักษะเข้าสู่สังคมที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ ผิดกับความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ที่คิดว่าการเข้าห้องเรียน นั่งเป็นแถว เงียบสนิทห้ามพูด แล้วครูสั่งให้ทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอน คือวิธีที่ดีกว่า

การเล่นช่วยสร้าง EF และเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่โรงเรียน เพราะการเล่นทุกชนิดมีเรื่องการแก้ปัญหาผสมอยู่ด้วยเสมอ แต่เพราะเป็นปัญหาที่มากับความสนุกเด็กๆจึงมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังแก้ปัญหาหรือช่วยกันแก้ปัญหา ก่อนที่ทั้งหมดทุกคนนั้นจะต้องเคลื่อนตัวเข้าสู่ระบบโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาที่ยากยิ่งกว่าด้วยความไม่สนุกยิ่งกว่า

โรงเรียนในศตวรรษที่ 21นั้นควรสนุก
โรงเรียนสมัยใหม่ควรฝึกเด็กๆให้เรียนรู้ด้วยทักษะการแก้ปัญหา (problem solving) ทักษะร่วมมือกันทำงาน (collaboration) และใช้ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) จะเห็นว่าโรงเรียนสมัยใหม่คือความต่อเนื่องจากการเล่น เพราะที่แท้แล้วการเรียนรู้คือความสนุก การเรียนต่างหากที่เป็นยาขม

การเล่นมิได้มีเพียงแค่สนุก ที่จริงแล้วความสนุกมักเกิดจากความเสี่ยง เกิดจากการการทดลอง และเกิดจากการการทดสอบขอบเขต ว่าตัวเราสามารถไปได้ไกลกว่าขอบเขตมากเพียงใด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นการปีนที่สูง การปีนที่สูงให้ความสนุกเพราะมีความเสี่ยง ได้ทดลอง ได้ทดสอบและท้ายที่สุดแล้วเราจะปีนได้สูงกว่าเมื่อวานนี้ได้อย่างไร

Lev Vygotsky (1896-1934) นักจิตวิทยาชาวโซเวียตผู้มีชื่อเสียง เป็นหนึ่งในผู้อธิบายเรื่องการเล่นได้ดี เขาเขียนว่าการเล่นเป็นเหมือนนั่งร้านแห่งพัฒนาการ (scaffolding of development) เด็กได้พัฒนาทักษะนานาชนิดจากง่ายไปหายาก ทั้งเรื่องกล้ามเนื้อและสังคม โดยได้อธิบายเพิ่มเติมว่าเด็กพัฒนาได้ด้วยตัวคนเดียวก็จริง แต่เมื่อถึงขีดหนึ่งจะถึงอุปสรรค และเมื่อถึงตอนนั้นเขาต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น ความช่วยเหลือนี้จะมากับการเล่นได้อย่างกลมกลืนมากที่สุด ซึ่งเรียกช่วงเวลาที่เด็กคนหนึ่งเดินทางมาถึงจุดที่ต้องได้ความช่วยเหลือว่า Zone of Proximal Development(ZPD) แต่ความช่วยเหลือนั้นมิได้มาในรูปแบบของการเรียนหนังสือหรือคำสั่ง แต่เนียนกว่ามากด้วยการเล่น (อ้างถึงVygotsky LS. Play and its role in the mental development of the child. In: Bruner J, Jolly A, Sylva K, eds. Play. New York, NY: Basic Books; 1976:609618)

ที่มา : Facebook Page นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์


บทความที่เกี่ยวข้อง
 ประโยชน์ของการวิเคราะห์ The benefits of analysis
ประโยชน์สำหรับเด็กอ่อนและเด็กวัยประถม
19 ธ.ค. 2024
ประวัติ Dermatoglyphics Dermatoglyphics History
ประวัติ Dermatoglyphics Dermatoglyphics History.
18 ธ.ค. 2024
สอนลูกให้รู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ต
สอนลูกให้รู้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ต พ่อแม่ต้องควบคุมเวลาในการใช้ ต้องสอนให้มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ให้ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย
20 เม.ย. 2024
Brain Scan ช่วยให้คุณและลูกรักค้นพบความสามารถ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy